Last updated: 10 ต.ค. 2561 | 2563 จำนวนผู้เข้าชม |
กลุ่มโปรไบโอติก
จุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ ได้แก่ บิฟิโดแบคทีเรีย (พบมากในลำไส้ใหญ่) และแลคโตบาซิลลัส (พบมากในลำไส้เล็ก) จุลินทรีย์ประเภทนี้ช่วยย่อยอาหาร สร้างตามิน เสริมความต้านทาน ป้องกันและควบคุม ไม่ให้จุลินทรีย์ชนิดไม่ดีเข้าไปในเยื่อบุลำไส้ที่ก่อให้เกิดโรค ในลำไส้ของเรานั้นประกอบไปด้วยจุลินทรีย์กว่า 1,000 ชนิด มีจำนวนรวมมากกว่า 100 ล้านล้านตัว
นักวิจัยได้ทำการศึกษาและพบว่า โพรไบโอติกสามารถช่วยป้องกันและรักษาสุขภาพของระบบย่อยอาหารได้ ดังนี้
• โรคลำไส้แปรปรวน (Irritable bowel syndrome = IBS)
• โรคลำไส้อักเสบเรื้อรัง (Inflammatory bowel disease = IBD)
• ท้องเสียที่มีสาเหตุจากการติดเชื้อ (Infectious diarrhea) เช่น เชื้อไวรัส แบคทีเรีย หรือปรสิต
• โรคท้องเสียที่เกี่ยวข้องกับการใช้ยาปฏิชีวนะ (Antibiotic-related diarrhea)
• Lactobacillus เป็นจุลินทรีย์ที่อาศัยอยู่ในระบบย่อยอาหาร ระบบทางเดินปัสสาวะ และอวัยวะเพศ มีมากกว่า 50 สายพันธุ์
จากการศึกษาพบว่าบางสายพันธุ์สามารถช่วยบรรเทาหรือป้องกันการติดเชื้อรา ภาวะช่องคลอดอักเสบจากเชื้อแบคทีเรีย การติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ โรคไอบีเอส หรือลำไส้แปรปรวน (Irritable Bowel Syndrome: IBS) ท้องเสียจากการใช้ยาปฏิชีวนะ ติดเชื้อ Clostridium Difficile หรือจากการท่องเที่ยว (Traveler's Diarrhea) ภาวะพร่องเอนไซม์ย่อยนมหรือแพ้น้ำตาลแล็กโทส (Lactose Intolerance) การติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจ หรือความผิดปกติทางผิวหนังอื่น ๆ เช่น เริมริมฝีปาก ผื่นผิวหนังอักเสบ แผลร้อนใน
Bifidobacteria เป็นจุลินทรีย์ที่อยู่อาศัยในบริเวณลำไส้ใหญ่ สายพันธุ์ Bifidobacterium lactis หรือในชื่อ B. lactis ซึ่งเป็นจุลินทรีย์ที่ได้รับการรับรองจากองค์การอนามัยโลกว่ามีความปลอยภัยต่อร่างกายสูง สามารถทนต่อกรดในกระเพาะอาหาร และอยู่ในลำไส้ได้นานกว่า ช่วยให้ระบบขับถ่ายทำงานได้ดีกว่าจุลินทรีย์ชนิดอื่นๆ
โดยพบในระบบทางเดินอาหารของทารก โดยเฉพาะทารกที่ดื่มนมมารดา และถือว่าเป็นชนิดที่มีประโยชน์กับทารกอย่างมาก มีการศึกษาพบว่าเชื้อบางสายพันธุ์ช่วยควบคุมน้ำตาลและไขมันในเลือด บรรเทาโรคลำไส้แปรปรวนและอาการของโรค เช่น ปวดแน่นท้อง ท้องอืด มีความผิดปกติเกี่ยวกับการย่อยอาหาร
โพรไบโอติกส์
โพรไบโอติกส์ (Probiotics) เป็นแบคทีเรีย ที่มีชีวิตที่พบได้ตามธรรมชาติในลำไส้หรือจุลินทรีย์ที่อาศัยอยู่ในลำไส้ มักเป็นที่รู้จักกันว่าเป็น "แบคทีเรียดี" เพราะมีส่วนช่วยให้ลำไส้แข็งแรง โพรไบโอติกส์ที่ใช้กันมากในประเทศสหรัฐอเมริกา คือ แล็คโตบาซิลลัส (Lactobacillus) และบิฟิโดแบคทีเรีย (Bifidobacteria\ นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่าจุลินทรีย์เหล่านี้ทำงานในลำไส้โดยการ ลดจำนวนแบคทีเรีย "ไม่ดี" เสริมสร้างแบคทีเรีย "ดี" ฟื้นฟูสมดุลแบคทีเรียที่มีประโยชน์ กระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย
จุลินทรีย์มีหน้าที่ดังนี้
• ช่วยในการย่อยสลาย และดูดซึมสารอาหาร วิตามินและเกลือแร่เข้าสู่ร่างกาย
• ลดการเติบโตของจุลินทรีย์ชนิดไม่ดี ซึ่งเป็นสาเหตุทำให้ภูมิคุ้มกันอ่อนแอ
• เสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายให้แข็งแรง บรรเทาอาการภูมิแพ้ และไข้หวัด
• เสริมความแข็งแรงและฟื้นฟูระบบย่อยอาหาร ระบบทางเดินอาหารและระบบลำไส้
• ช่วยให้การทำงานตับและไตมีประสิทธิภาพมากขึ้น
ประโยชน์ของโพรไบโอติก (probiotic)
แบคทีเรียโพรไบโอติก (probiotic) ผลิตสารที่มีประโยชน์ต่อร่างกายมนุษย์เนื่องจาก
กรดแล็กทิก (lactic acid) ที่จุลินทรีย์สร้างจะยับยั้งการเจริญของแบคทีเรียที่ทำให้เกิดโรค (pathogen) เช่น Clostridium perfringens, Salmonella เป็นต้น
ช่วยลดระดับของคอเลสเตอรอล (cholesterol) ฟอสฟอลิพิด (phospolipid) และไตรกลีเซอไรด์ (triglyceride) ในเลือด โดย Lactobacillus acidophilus ซึ่งเป็นจุลินทรีย์ กลุ่มบิฟิโดแบคทีเรียที่อยู่ในลำไส้จะช่วยย่อยสลายคอเลสเตอรอล (choloesterol) และยับยั้งการดูดซึมคอเลสเตอรอล ผ่านผนังลำไส้
ช่วยในการทำงานของลำไส้ ลดอาการท้องผูกได้ เนื่องจากกรดอินทรีย์ที่จุลินทรีย์ บิฟิโดแบคทีเรีย (bifidobacteria) ผลิตขึ้น จะกระตุ้นการบีบตัวของลำไส้ และช่วยเพิ่มความชื้นของอุจจาระ ทำให้สามารถขับถ่ายได้สะดวกมากขึ้น ช่วยเพิ่มการดูดซึมแคลเซียมในระบบย่อยอาหาร สามารถผลิตวิตามินต่างๆ เช่น Vitamin B1, Vitamin B2, vitamin B6, Vitamin B12, biotin (vitamin H) nicotinicacid และ folic acid ได้ ป้องกันการติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะหรือโรคทางเดินปัสสาวะอักเสบ (UTI) ป้องกันการติดเชื้อยีสต์ บรรเทาอาการของโรคสะเก็ดเงินหรือโรคผิวหนังอักเสบ ช่วยในกลุ่มอาการเพลียเรื้อรัง
ประโยชน์ของ probiotics ที่ได้ผ่านการศึกษาวิจัย มีมากมายหลายประการ ตั้งแต่ประโยชน์ในทางเดินอาหาร เสริมสร้างภูมิต้านทานโรค จนไปถึงการเป็นสารต้านมะเร็ง
ประโยชน์ที่ได้จากงานวิจัย
1. ลดปัญหาท้องผูกลงได้อย่างชัดเจน ทำให้อุจจาระอ่อนนุ่ม ถ่ายง่าย
2. ลดปัญหาเกี่ยวกับทางเดินอาหารทั้งหลายแหล่ เช่น อึดอัด แน่นท้อง ปวดท้อง ลดโอกาสการติดเชื้อ H. pylori ใน กระเพาะอาหาร ซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งของแผลในกระเพาะอาหาร
3. ป้องกันและลดความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งลำไส้
4. ลดโอาสการเกิดท้องเสียจากเชื้อ Enterovirus ที่เจอได้บ่อยที่สุดในเด็กเล็ก
5. ลดโอกาสการเกิดท้องเสียจากผลข้างเคียงของยาปฏิชีวนะ
6. เสริมสร้างภูมิคุ้มกัน ลดโอกาสการเป็นภูมิแพ้ในเด็ก
7. ช่วยลดระดับของคอเลสเทอรอล (cholesterol) ฟอสฟอลิปิด (phospolipid) และไตรกลีเซอไรด์ (triglyceride) ใน เลือด โดย Lactobacillus acidophilusซึ่งเป็นจุลินทรีย์กลุ่มบิฟิโดแบคทีเรียที่อยู่ในลำไส้จะช่วย ย่อยสลายคอเลสเตอรอล (choloesterol) และยับยั้งการดูดซึมคอเลสเตอรอล ผ่านผนังลำไส้
8. ป้องกันการติดเชื้อทางเดินหายใจ เช่น หวัด ไข้หวัดใหญ่ เป็นต้น
9. ป้องกันและช่วยรักษาการติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ
10 ต.ค. 2561
10 ต.ค. 2561
10 ต.ค. 2561